วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

กลูต้าไธโอน


กลูต้าไธโอน(Glutathione) คืออะไร!!

         สารกลูตาไธโอน เป็นสารที่เซลล์ในร่างกายเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง มีคุณสมบัติเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อของอวัยวะทุกส่วนโดยการต่อต้านอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่สำคัญยังช่วยตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกาย เช่น ตัวยาหรือสารพิษที่ไม่ละลายน้ำ เมื่อรวมตัวกับสารกลูตาไธโอน จะช่วยให้ละลายน้ำได้และถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ในที่สุด สารพิษจำพวกโลหะหนักหรือสารกำจัดแมลง สามารถถูกขจัดออกจากร่างกายได้โดยการทำงานของกลูตาไธโอนร่วมกับตับ 

          สารกลูต้าไธโอนยังมีหน้าที่สำคัญอีกมากมายในร่างกาย เช่น สังเคราะห์โปรตีน ช่วยให้เม็ดเลือดแดงมีความแข็งแรง ช่วยเร่งการซึมผ่านของสารอาหารเข้าสู่เซลล์ ช่วยปกป้องดีเอ็นเอของเซลล์ไม่ให้ถูกทำลาย ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดมะเร็งนั่นเอง 


Glutathione (กลูต้าไทโอน) เป็นสารประเภท Tripeptide ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด

ได้แก่ Cysteine, Glycine และ Glutamic acid หน้าที่หลักของสารตัวนี่ที่เด่นมีอยู่ 3 ประการ คือ

1. Detoxification : กลูต้าไทโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะ Glutathion-S-transferase ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ1 จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด (Overdose) ฯลฯ

2. Antioxidant : กลูต้าไทโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Antioxidant) ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่

3. Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย2 โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอมรวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไทโอน ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีนและ protaglandin 

          โดยสรุปสารกลูต้าไธโอน จึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีกำลังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินซีหรือวิตามินอี เมื่ออายุคนเรามากขึ้นปริมาณกลูตาไธโอนในร่างกายจะลดน้อยลง มีผลทำให้เซลล์และอวัยวะทุกส่วนเสื่อมโทรมลง ในทางตรงกันข้าม นักวิจัยพบว่าผู้ที่มีอายุยืนยาวและมีสุขภาพแข็งแรง มักจะตรวจพบสารกลูตาไธโอนปริมาณสูงในกระแสเลือด

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จากสารกลูต้าไธโอน  


          สารกลูต้าไธโอนมีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบเส้นประสาทบกพร่อง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม โรคปลายเส้นประสาทอักเสบ มะเร็งกระเพาะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยได้รับการรับรองให้ใช้เป็นยามามากกว่า 30 ปี การรักษามักจะให้โดยการฉีดเข้าเส้นหรือเข้าที่กล้ามเนื้อ อาการข้างเคียงของยาดังกล่าวตอนนี้ยังไม่พบ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า สารกลูตาไธโอนมีผลข้างเคียงในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งทำให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยนจากเม็ดสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว ผลข้างเคียงนี้จึงทำให้มีการแตกตื่นและนำกลูต้าไธโอนมาเตรียมเป็นยาเม็ดเพื่อใช้เป็นอาหารเสริม เพื่อชะลอวัย และหวังผลให้ผิวขาวใสหรือผิวขาวอมชมพู

ยาเม็ดกลูต้าไธโอน ได้ผลจริงหรือ ? 
          ในวงการของอาหารเสริม มีการนำสารกลูต้าไธโอนมาทำเป็นยาเม็ดในขนาดความแรงต่างๆ กัน เพื่อใช้ในการรับประทานเป็นอาหารเสริม โดยหวังผลว่า จะสามารถเสริมและทดแทนปริมาณกลูตาไธโอนที่ร่างกายมีไม่พอหรือบกพร่องไป อันเนื่องมาจากสาเหตุของโรคต่างๆ 
          จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า สารกลูตาไธโอนจะไม่สามารถถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารได้ เพราะจะถูกย่อยสลายและขับออกทางลำไส้ ดังนั้นการรับประทานยาเม็ดกลูต้าไธโอนจึงไม่ได้รับประโยชน์เลย ไม่ว่าจะกินครั้งละหลายๆ เม็ดหรือในขนาดที่สูงมากๆ ก็ตาม

กลูต้าไธโอนช่วยให้ผิวขาวได้จริงหรือ? 
          ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น อาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ของการใช้ยากลูต้าไธโอนคือ การยับยั้งการสร้างเซลล์เม็ดสีให้ผิวหนัง รวมทั้งการเปลี่ยนเม็ดสีที่สร้างขึ้นจากสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว จึงมีการคิดนำเอาสารชนิดนี้มาใช้เป็นอาหารเสริมโดยหวังว่า จะสามารถเสริมและเพิ่มความเข้มข้นของกลูต้าไธโอนในกระแสเลือดให้มากๆ เพื่อหวังผลให้ผิวหน้าขาวอมชมพู แต่ในความเป็นจริงยาเม็ดที่เป็นอาหารเสริมนั้น ทานมากเท่าไหร่ก็จะไม่ได้ผล เพราะสารชนิดนี้จะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกาย ไม่ถูกดูดซึม แพทย์หลายสำนักจึงได้มีการดัดแปลงโดยทำการฉีดเข้าเส้นหรือเข้ากล้ามเนื้อเช่นเดียวกับการรักษาโรคต่างๆ อย่างไรก็ตามอาการข้างเคียงของผิวขาวเป็นอาการชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่ควรใช้ยานี้ในทางที่ผิด


กลูต้าไธโอนในธรรมชาติ 
          พบมากในผลไม้ ได้แก่ แตงโม สตรอเบอรี่ องุ่น ผลอโวกาโด ส่วนในผักพบมากใน หน่อไม้ฝรั่ง สำหรับเนื้อสัตว์จะพบได้ใน ปลา และเนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว จะพบมากใน Asparagus อะโวกาโด และ Walnut ร่างกายเราก็สามารถสร้างกลูต้าไทโอนได้และมีสารหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มการสร้างได้แก่ Alpha lipoic acid, Glutamine3, Methionine, Whey Protein, Vitamin B-6, Vitamin B-2 , Vitamin C4 และ Selenium 
ดังนั้นควรเลือกรับประทานจากธรรมชาติดีกว่าที่จะหลงไปใช้สารนี้อย่างผิดๆ และขาดความเข้าใจ

ที่มา ::: http://www.tlcthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น